โทร.02-540-4444 admin@upd.co.th

บริษัท ยูพีดี โบรคเกอร์ จำกัด

บริการทะเบียนรถ

 

ต่อภาษีรถยนต์ เอกสารที่จะต้องเตรียมใช้

เอกสารที่ต้องใช้คือ

  • สมุดรายการจดทะเบียนรถ หรือ สำเนารายการจดทะเบียนรถ คือ เอกสารที่ใช้ระบุเกี่ยวกับรถยนต์ของเราไว้ สิ่งที่ระบุเอาไว้เช่น รายละเอียดการจดทะเบียนรถยกตัวอย่างเช่น วันจดทะเบียน จดที่จังหวัดอะไร รายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ รายละเอียดของเจ้าของรถยนต์ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ เลขตัวถังแก๊ส เป็นต้น
  • หลักฐานการทำ พ.ร.บ. ส่วนท้ายหรือสำเนาหน้าตาราง พ.ร.บ. ที่ยังไม่หมดอายุอย่างน้อย 3 เดือน
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) เฉพาะในกรณีที่รถยนต์มีอายุการใช้งานมากกว่า 7 ปี และรถจักรยานยนต์มีอายุการใช้งาน 5 ปี ขึ้นไป ที่เราจะต้องตรวจสอบสภาพรถยนต์ก็เพื่อตรวจสอบความพร้อมของรถยนต์ว่ามีสมรรถนะ ที่จะใช้งานบนท้องถนนได้หรือไม่ เราสามารถขอเอกสารตรวจสอบได้ที่ กรมขนส่งทางบก หรือ สถานตรวจสภาพเอกชน (ตรอ.)

กรณีรถยนต์ของเรานั้นขาดการ ต่อภาษีรถยนต์ เกิน 1 ปี และต้องการต่อภาษีรถยนต์ เราจะต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถ (ตรอ.) จากกรมขนส่งทางบก และจะต้องจ่ายค่าปรับย้อนหลังพร้อมค่าภาษี ด้วย

ต่อภาษีรถยนต์ แล้วติดแก๊สเพิ่ม เตรียมเอกสารอะไรบ้าง

  • รถยนต์ที่มีการติดแก๊สเพิ่มมา 5 ปี จะต้องมีเอกสารใบรับรองการตรวจสอบและการทดสอบความปลอดภัย
  • ที่ติดแก๊สก๊าซ NGV หรือ ก๊าซ CNG จะต้องมีใบรับรองจากวิศวกรมายื่น ต่อภาษีรถยนต์ ทุกปี
  • ถ้ารถยนต์ติดตั้งก๊าซ NGV และ CNG มาจากโรงงาน ใน 3 ปีแรก สามารถยื่นต่อภาษีได้เลยไม่ต้องใช้ใบรับรองวิศวกร

ต่อภาษีรถยนต์ ล่าช้ามีโทษปรับอย่างไร

     เมื่อใกล้ถึงวันที่ครบกำหนดจะต้อง ต่อทะเบียนรถ เราสามารถทำล่วงหน้าได้ 3 เดือน แต่หากเราจะต่อภาษีรถยนต์เมื่อเกินกำหนดไปแล้ว หรือต่อภาษีรถยนต์ล่าช้า เราจะต้องเสียค่าปรับ เพิ่มเติมอัตราค่าปรับอยู่ที่ ร้อยละ 1% ของค่าภาษีรถยนต์ต่อเดือน เช่น ค่าภาษีรถยนต์ 2000 บาท รถยนต์มีการขาดการต่อภาษีรถยนต์ 1 เดือน ค่าปรับก็จะเท่ากับ 20 บาทเป็นต้น
    ถ้าเกิดว่าเราขาดการต่อภาษีรถยนต์เป็นระยะเวลาเกิน 3 ปี ทะเบียนรถยนต์ของเราก็จะถูกระงับ หลังจากนั้นก็จะมีจดหมายมาจากสำนักงานขนส่งว่าให้เรานำป้ายทะเบียนรถยนต์มาคืนพร้อมกับใบคู่มือและการบันทึกการระงับป้ายทะเบียนรถยนต์ และให้เราชำระค่าปรับและค่าภาษีรถยนต์ที่ค้างทั้งหมด
     หากเราต้องการนำรถยนต์ไปยื่นเรื่องขอจดทะเบียนใหม่ก็สามารถทำได้ โดยต้องนำรถเข้ารับการตรวจสอบสภาพรถยนต์ที่สำนักงานขนส่งและยื่นเอกสารดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • หลักฐานการทำประกันภัยตาม พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

ไม่ได้ต่อภาษีรถยนต์ แล้วนำมาใช้ผิดกฏหมายไหม

ผิด แน่นอนครับที่เรานำรถยนต์ที่ขาดการ ต่อภาษีรถยนต์ มาใช้เพราะการใช้รถยนต์บนท้องถนนนั้นจะต้อง ต่อ พรบ รถยนต์ และ ต่อภาษีรถยนต์ทุกปี ตามกฏหมายถ้าละเมิดไม่ต่อจะมีโทษปรับทางจราจร 20,000 บาท และนอกเหนือจากนั้นยังสามารถแบ่งความผิดได้เป็น 3 กรณีดังนี้

  • ใช้รถยนต์ที่ไม่มี พรบ. หรือ ขาดต่ออายุ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  • ใช้รถยนต์ที่ไม่จดทะเบียน หรือ ขาดต่อภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  • ใช้รถที่ไม่แสดงเครื่องหมายการชำระภาษี มีโทษปรับ ไม่เกิน 2,000 บาท

อัตรา ราคา ค่า การต่อทะเบียนรถยนต์ และ พรบ รถยนต์ ปี 2561

รถป้ายทะเบียนสีขาวตัวหนังสือสีดำ หรือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง การคิดภาษีรถยนต์ จะขึ้นอยู่กับ ขนาดเครื่อง (cc) รถยนต์ อยู่ที่ราคาประมาณ 0.5 – 1.5 บาท/cc ส่วนรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 6 ปี ลดให้ 10 % ขึ้นไป รถที่อยู่ในหมวดนี้ยกตัวอย่างเช่น รถกะบะ 4 ประตู รถ SUV รถเก๋ง คิดภาษีตาม cc ได้ดังนี้

  • 1 – 600 cc คิด ซีซี ละ 0.50 สตางค์
  • 601 – 1800 cc คิด ซีซี ละ 1.50 บาท
  • 1801 ขึ้นไป คิด cc ละ 4 บาท

ตัวอย่างการคำนวณเช่น รถยนต์ toyota อายุรถ 4 ปี เครื่องยนต์ 1,500 cc

1. 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท = 600 x 0.5 = 300 บาท
2. 601-1500 cc ละ 1.50 บาท = (1,500 – 600) = 899 x 1.50 = 1,348.50 บาท
รวมค่าภาษี 300 + 1,348.50 = 1,648.50 บาท

ในกรณีที่รถมีขนาดเกิน 1800 ซีซี สมมุติว่าเครื่องยนต์ขนาด 2,979 ซีซี จะคำนวณได้ดังนี้
รถยนต์ ยี่ห้อ Toyota รุ่น Vigo อายุรถ 4 ปี เครื่องยนต์ 3,000 cc

1. 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท = 600×0.5 = 300 บาท
2. 601-1800 cc ละ 1.50 บาท = (1,800-600) = 1199 x 1.50 = 1,798.50 บาท
3. เกิน 1801 cc ละ 4 บาท = (3,000 – 1,801) = 1199 x 4.00 = 4,796 บาท
รวมค่าภาษี 300 + 1,798.50 + 4,796 บาท = 6,894.50 บาท
ภาษี ปีที่ 1-5 ภาษีคงที่

  • 6 ปีลด 10%
  • 7 ปีลด 20%
  • 8 ปีลด 30%
  • 9 ปีลด 40%
  • 10 ปีลด 50%
  • ปีที่ 11 เป็นต้นไป ภาษีเท่ากับปีที่ 10

รถป้ายทะเบียนสีขาวตัวหนังสือเขียว คือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง

การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ ดังนี้

  • น้ำหนักรถ 501- 750 กก. อัตราภาษี 450 บาท
  • น้ำหนักรถ 751 – 1000 กก. อัตราภาษี 600 บาท
  • น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กก. อัตราภาษี 750 บาท
  • น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กก. อัตราภาษี 900 บาท
  • น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กก. อัตราภาษี 1,050 บาท
  • น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กก. อัตราภาษี 1,350 บาท
  • น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กก. อัตราภาษี 1,650 บาท

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือสีน้ำเงิน คือรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง

การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ

  • น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กก. อัตราภาษี 1,300 บาท
  • น้ำหนักรถเกิน 1800 กก. อัตราภาษี 1,600 บาท

รถจักรยานยนต์ ไม่ว่าจะ 100 cc หรือ 1,000 cc เท่ากับ 100 บาททั้งหมด